ทอง 0.6 กรัม หนักกี่สลึง ราคากี่บาท

07 กุมภาพันธ์ 2019 | เมื่อ 16:21 หลังเที่ยง

ปกติแล้วคนไทยจะคุ้นเคยกับการซื้อขายทองในน้ำหนักทองที่เป็น "บาท" หรือ "สลึง" อย่าง ทอง 1 บาท, ทอง 1 สลึง แต่ขนาดทอง 0.6 กรัม ที่หลายคนงุนงงงสับสนว่าคืออะไร เป็นทองจริงหรือทองปลอม เทียบน้ำหนักกี่สลึง และสามารถขายได้ราคาหรือไม่ 

เช็คราคาทอง 0.6 กรัมวันนี้ คลิ๊กที่นี่

หลายๆ คนคงเห็นทองที่มีหน่วยเป็น “กรัม” อย่าง ทองแท่ง 1 กรัม มาบ้าง ซึ่งก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน โดยหน่วยเป็นกรัมคือส่วนประกอบหนึ่งของทองที่เป็นบาท หรือพูดง่ายๆ คือ เรียงหน่วยน้ำหนักทองจากมากไปน้อยคือ  บาท > สลึง > กรัม

โดย มาตรฐานน้ำหนักทอง ของไทยคือ ทอง 1 บาท เท่ากับ 4 สลึง หรือเท่ากับ 15.16 กรัม สำหรับทองรูปพรรณ (ถ้าเป็นทองคำแท่งจะหนัก 15.244 กรัม) ในน้ำหนักทองอื่นหากเทียบสัดส่วนต่อทอง 1 บาท จะได้ดังนี้

ทองครึ่งสลึงยังมีหน่วยเท่ากับ “เฟื้อง” หน่วยน้ำหนักทองโบราณด้วย นอกจากนี้ยังเรียกว่าทอง 5 หุนก็ได้ โดยทั้งทอง 1 เฟื้อง และทอง 5 หุน ก็คือทองครึ่งสลึง หนัก 1.895 กรัมนั่นเอง


หากเทียบสัดส่วน ทองครึ่งสลึง กับน้ำหนักทองเป็นกรัม จะได้ว่า ทอง 1 กรัม หนักประมาณ 1 ใน 2 ของทองครึ่งสลึง (ถ้าให้ตรงพอดีคือ 0.95 กรัม) หรือ ครึ่ง-ของ-ครึ่งสลึง

ส่วนทอง 0.6 กรัมนั้น ไม่พบว่าเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับมาตราชั่งตวงวัดน้ำหนักแบบโบราณใดใดเลย ไม่ว่าจะเป็นมาตราชั่งตวงวัดของไทย ของจีน หรือสากล และไม่เป็นสัดส่วนที่ลงตัวกับหน่วยอื่นๆ เช่น ทอง 0.6 กรัม 2 ชิ้น (1.2 กรัม) ก็หนักเกินน้ำหนักทอง 1 กรัม ที่พอจะเทียบแล้วใกล้เคียงที่สุดก็คือทอง 0.6 กรัม 3 ชิ้น (1.8 กรัม) กับทองครึ่งสลึง (1.895 กรัม)

แต่ในมาตราชั่งตวงวัดไทยโบราณ มักจะย่อยหน่วยใหญ่ด้วยการหารด้วย 2, 4, 8 หรือ 16 (เช่น 1 บาท เท่ากับ 4 สลึง) ไม่พบว่ามีการย่อยด้วยการหาร 3 จึงสันนิษฐานว่าที่ทำเป็นทอง 0.6 กรัม ไม่ทำน้ำหนักน้อยกว่านั้น มีที่มาจากการทำทองรูปพรรณให้มีขนาดเล็ก ใช้เนื้อทองน้อยที่สุดเท่าที่พอทำออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ แล้วยังคงความสวยงามได้อยู่ ไม่เสียหายง่ายเกินไป และสวมใส่ได้จริง ก็คือทอง 0.6 กรัม หากน้อยกว่านี้ก็อาจไม่สวยงาม หรือไม่สามารถสวมใส่ได้จริงเพราะจะเปราะบางมาก

ร้านทองจะมีการติดฉลากบอกน้ำหนักทองรูปพรรณแต่ละชิ้นโดยระบุน้ำหนักเป็นกรัม บอกเปอร์เซ็นต์ทอง รวมถึง ค่ากำเหน็จ (ค่าแรง) แต่ราคาทองที่ปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ก็จะไม่ได้ติดไว้บนฉลาก จะคิดตอนที่ลูกค้าไปซื้อ ใช้ราคา ณ ขณะนั้น หากต้องการรู้ราคาทอง(เฉพาะราคาเนื้อทอง ไม่รวมค่ากำเหน็จ) ก็คิดคร่าวได้ดังนี้ 

(ราคาขายออกทองคำแท่ง / 15.16) x 0.6

ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาขายออกทองคำแท่งในขณะนั้นอยู่ที่ 20,000 บาท ราคาเนื้อทอง 0.6 กรัม จะอยู่ที่

(20,000 / 15.16) x 0.6 = 792 บาท

ซึ่งถ้าบวกค่ากำเหน็จเข้าไปก็อาจจะขายกันอยู่ที่ราคาพันต้นๆ

ทอง 0.6 กรัม คือทองคำแท้ที่มีน้ำหนักน้อยที่สุดในบรรดาน้ำหนักทองทั้งหมดที่ผลิตออกมาเป็นทองรูปพรรณ (ไม่รวมเศษทอง) มีความบางและเบามาก ส่วนใหญ่จะผลิตออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ อย่างแหวนทอง 0.6 กรัม จี้ทอง ตุ้มหู หากเป็นแหวนทองก็มีโอกาสบุบหรือชำรุดได้ง่ายกว่า แต่ก็เป็นที่นิยมสำหรับเหล่าพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ที่ซื้อไปแจกตัวแทน แจกพนักงานบริษัท แจกเป็นของรางวัล

อ่านบทความเรื่อง " ราคาทองครึ่งสลึง กับ ราคาทอง 1 กรัม ต่างกันกี่บาท " 

รวมเรื่องทองคำ ที่คุณอยากรู้ ไว้ที่นี่แล้ว

 

โพสต์ล่าสุด