ค่ากำเหน็จทอง 1 บาท ราคาเท่าไหร่

01 กุมภาพันธ์ 2019 | เมื่อ 09:20 ก่อนเที่ยง

หลายคนสงสัยว่า ค่ากำเหน็จ คืออะไร ทำไมต้องจ่ายทุกครั้งที่ซื้อทอง และคิดราคาในส่วนนี้ยังไง ทำไมราคาทองถึงไม่เท่ากันทุกร้าน แล้วทองแบบไม่มีค่ากำเหน็จมีไหม?

ค่ากำเหน็จ คือ ค่าแรง หรือ ค่าจ้างช่างทำทอง โดยจะ คิดราคาตามความยากง่ายในการทำ ลวดลายทอง และ คิดราคาต่อชิ้น ซึ่งค่าแรงมี 2 แบบ คือ 

 

IMG_9007

 

  • ค่ากำเหน็จทองรูปพรรณ คือ ค่าแรงในการนำทองแท่งมาแปรรูปทำเป็นเครื่องประดับทองคำ อย่าง แหวนทอง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล จี้ทอง ต่างหู ฯลฯ จะมีค่าแรงหลากหลายระดับ ขึ้นอยู่กับลวดลายทองที่ทำ  โดยมาตรฐานค่าแรงทองรูปพรรณ 1 บาท จะอยู่ประมาณบาทละ 500-800 บาท หากเป็นลายยากๆ รายละเอียดซับซ้อน ก็อาจจะอยู่ที่ประมาณบาทละ 1000-3000 บาท

สมมุติ ราคาทองรูปพรรณ ขายออก 19,500 บาท มีค่ากำเหน็จ 800 บาท 

ซื้อสร้อยคอ 1 บาท ราคาที่ต้องจ่าย เท่ากับ 19,500 + 800 = 20,300 บาท

ซื้อแหวนทอง 1 สลึง ราคาที่ต้องจ่าย เท่ากับ 19,500/4 + 800 = 5,675 บาท

1487323241086

 

  • ค่ากำเหน็จทองคำแท่ง คือทองคำที่ผลิตเป็นแท่งบล็อคสี่เหลี่ยม จะมีค่าแรงที่เรียกอีกชื่อว่า “ค่าบล็อค” หรือ “ค่าพรีเมี่ยม” (ใช้กับการซื้อขายทองแท่ง) ส่วนใหญ่จะมีราคาถูกกว่าค่ากำเหน็จทองรูปพรรณ เนื่องจากผลิตง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ก็มีความสวยงามไม่แพ้ทองรูปพรรณ โดยมาตรฐานค่าแรงทองแท่ง 1 บาท จะอยู่ที่ประมาณบาทละ 100-400 บาท แต่หากทองแท่งนั้นเป็นลวดลายพิเศษก็อาจจะมีค่าแรงสูงกว่านี้ได้ บางที่อาจไม่ต้องจ่ายค่าบล็อคหากซื้อทองแท่งขนาดตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป

สมมุติ ราคาทองคำแท่ง ขายออก 19,500 บาท มีค่าบล็อค 300 บาท 

ซื้อทองแท่ง 1 บาท ราคาที่ต้องจ่าย 19,500 + 300 = 19,800 บาท

ซื้อทองแท่ง 0.25 บาท (1 สลึง) ราคาที่ต้องจ่าย 19,500/4 + 300 = 5,175 บาท 

 

ดังนั้น เวลาไปซื้อทองทางร้านทองจะคิดราคาจาก ค่าเนื้อทอง (น้ำหนักทอง) + ค่าแรง ซึ่งหากซื้อทองน้ำหนักน้อยกว่า 1 บาท เช่น 2 สลึง, 1 สลึง, ทองครึ่งสลึง หรือทอง 1 กรัม ค่าแรงต่อชิ้นก็อาจจะไม่ได้แตกต่างกับค่ำกำเหน็จของทอง 1 บาทมากนัก เพราะค่าแรงคิดตามความยากง่ายของการผลิตทองชิ้นนั้นๆ ไม่ได้คิดตามน้ำหนักทอง

แต่เวลาขายทองคืนร้านทอง ร้านทองจะให้ราคาตามน้ำหนักทองที่ชั่งได้เท่านั้น ไม่ได้นำค่ากำเหน็จมาคิดราคาคืนให้

ทั้งนี้ ร้านทองแต่ละร้านจะคิดค่ากำเหน็จต่างกัน หากเป็นร้านทองรายย่อย หรือ ร้านทองต่างจังหวัดจะคิดในส่วนของก็อาจจะมีค่าขนส่ง ค่าจ้าง ค่าประกัน เพิ่มเข้าไปด้วย เพราะต้องซื้อทองจากร้านทองรายใหญ่มาขาย ทำให้ค่ากำเหน็จหรือค่าแรงอาจจะแพงกว่าร้านในกรุงเทพฯ

อ่านบทความเรื่อง " ราคาค่าเปลี่ยนทอง คิดยังไง ? " คลิก

รวมเรื่องทองคำ ที่คุณอยากรู้ ไว้ที่นี่แล้ว

 

โพสต์ล่าสุด