"เงินฉุกเฉิน" เงินก้อนแรกที่ต้องเก็บให้ได้

23 มีนาคม 2020 | เมื่อ 14:31 หลังเที่ยง

"เงินฉุกเฉิน" เงินที่หลายๆคนมักไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่นักเพราะคิดว่าเงินด้าsaนอื่นๆ สำคัญกว่า แต่ความจริงแล้ว เงินส่วนนี้คือเงินก้อนแรกที่ต้องวางแผนเก็บให้ได้แล้วค่อยเก็บเงินส่วนอื่นๆ

 

คำว่า “ฉุกเฉิน” หมายถึงเหตุการณ์เร่งด่วนทันทีทันใด ดังนั้น “เงินฉุกเฉิน” คือ เงินออมจำนวนหนึ่ง ที่เก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน , ใช้ในยามเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน,ไม่ทันได้ตั้งตัว ถือเป็นเงินก้อนแรกที่ควรวางแผนเก็บออมให้ได้ ซึ่งหลายคนมักไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก เพราะมองว่าตัวเองคงไม่เจอเหตุการณ์ฉุกเฉินอะไร หรือนึกไม่ออกว่าเหตุการณ์ฉุกเฉินแบบไหนต้องใช้เงิน

เหตุการณ์ฉุกเฉินที่คุณคาดไม่ถึง มักเป็นเหตุการณ์กะทันหันที่คุณอาจคาดเดาความแน่นอนไม่ได้ ซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญที่คุณควรต้องมี “เงินฉุกเฉิน” เอาไว้เพื่อใช้ในยามเหล่านี้

  • ตกงาน ตกงานกะทันหันสามารถเกิดขึ้นได้ ยิ่งในยามที่พิษเศรษฐกิจเล่นงาน คุณอาจโดนบริษัทเลิกจ้างได้ และแม้จะได้เงินสมทบ,เงินชดเชยจากบริษัท ก็การันตีไม่ได้ว่าจะพอใช้จ่ายในช่วงที่ว่างงานหรือไม่ เพราะรายจ่ายยังคงเหมือนเดิม แต่รายได้ไม่มี ดังนั้น เงินฉุกเฉิน กรณีตกงานควรเก็บให้พอใช้กับระยะเวลาที่ว่างงานสัก 4 - 6 เดือน 
  • อุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่หลายคนคาดเดาล่วงหน้าไม่ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน ซึ่งค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากคุณไม่ได้ซื้อประกันที่dครอบคลุมอุบัติเหตุ หรือแม้แต่อุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ คุณก็ต้องมีเงินสำรองไว้ในส่วนนี้ ซึ่งเงินฉุกเฉินกรณีอุบัติเหตุควรจะมีอย่างน้อยให้พอใช้จ่ายค่ายา,ค่าทำแผล,ค่ารักษาเฉพาะส่วน และควรเตรียมไว้สำหรับคนในครอบครัวคนอื่นๆด้วย
  • โรคระบาด การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า COVID-19 ถือเป็นสถานการณ์ที่เห็นได้ชัดว่า”เงินฉุกเฉิน”นั้นสำคัญอย่างไร เพราะเหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และในไทยเองก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากมายตั้งแต่ บริษัท,ห้างสรรพสินค้า,พนักงานต่างๆ,มนุษย์เuงินเดือน, รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาล,ค่าอุปกรณ์ป้องกันโรค,ค่าอาหาร,ค่ากินค่าอยู่กรณีต้องหยุดทำงาน ซึ้งหากไม่ได้มีเงินเก็บไว้รองรับอาจจะเจอภาวะลำบากด้านการเงินได้
  • เศรษฐกิจย่ำแย่ อาจส่งผลกระทบด้านต่างๆภายในประเทศ ซึ่งมีหลายภาคส่วนด้วยกัน อย่างการจ้างงาน,ค่าเงินบาท,ราคาข้าวของ,ฯลฯ
  • เงินเฟ้อ  อาจส่งผลต่อราคาข้าวของ,ระบบขนส่ง,บริการต่างๆ ปรับราคาแพงขึ้น และอาจทำให้เงินเก็บที่มีอยู่ลดจำนวนลง 

ระยะเวลาของ”เงินฉุกเฉิน”ที่จะใช้ 

  • เงินฉุกเฉินระยะด่วนมาก จำเป็นต้องใช้เงินด่วนวันนี้,พรุ่งนี้,อาทิตย์นี้ 
  • เงินฉุกเฉินระยะด่วน จำเป็นต้องใช้ เดือนนี้,เดือนหน้า 1 - 4 เดือนเป็นอย่างต่ำ 

 

ควรมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเท่าไหร่ ? ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายของแต่ละคน เพราะแต่ควรมีอย่างต่ำ 3 - 6 เท่า ของค่าใช้จ่าย เช่นมีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนอยู่ที่ 8,000 บาท ต้องการออมกี่เท่าก็เอามาคูณค่าใช้จ่าย เช่น  8,000 * 3 ควรมีเงินฉุกเฉิน 24,000 บาท หรือ 8,000 * 6 ต้องมีเงินฉุกเฉิน 48,000 บาท 

 

จำนวนงินดังกล่าวเป็นเงินสำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉินและจำเป็นจริงๆเท่านั้น ดังนั้นควรเก็บให้ได้,เก็บให้อยู่หมัด ไม่ควรนำออกมาใช้จ่ายในเรื่องอื่นๆ และควรเก็บไว้ในช่องทางที่สามารถเบิกถอนออกมาใช้ได้ทันที นอกจากนี้ควรมีความเสี่ยงต่ำด้วย 

ช่องทางการเก็บเงินฉุกเฉินมีหลากหลายดังนี้

  • ฝากเงินธนาคาร แยกบัญชีเพื่อออมเงินฉุกเฉินโดยเฉพาะ ไม่ควรเก็บไว้ในที่เดียวกับบัญชีเงินเดือน,บัญชีใช้จ่ายประจำวัน 
  • ออมในกองทุน กองทุนรวมต่างๆ ก็เป็นแหล่งเก็บชั้นดีเหมือนกัน แต่ก็ต้องดูข้อจำกัดในการถอนเงินออกมาใช้ด้วย
  • ออมในหุ้น   แต่อาจมีเรื่องความเสี่ยงของราคาหุ้นขึ้น-ลงมากระทบด้วย แต่ก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีด้วย
  • ออมในทองคำ ข้อดีของทองคำคือมีราคากลางที่แน่นอน ราคาเปลี่ยนแปลงทุกวัน และมีหลายราคา สามารถกำหนดเงินที่จะออมในแต่ละเดือนได้ ซึ่งนอกจากจะได้ออมเงินแล้ว ยังได้ทองคำมาเก็บอีกด้วย

เงินฉุกเฉินควรมีสภาพคล่องสูง ความเสี่ยงต่ำ คือสามารถนำออกมาใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน,เรื่องด่วน และควรเป็นเงินสด ไม่ควรเป็นเงินกู้ เพราะจะมีดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะนั้นอาจจะเปลี่ยนเป็นรายจ่ายไป นอกจากนี้เงินฉุกเฉินควรเริ่มต้นเก็บให้เร็วและวางแผนเก็บให้ได้ก่อนเงินในส่วนอื่นๆ เพราะอย่างที่บอก เหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน มักจะมาโดยที่ตั้งตัวไม่ทันได้ ดังนั้น เริ่มต้นวางแผนออมเงินตั้งแต่ตอนนี้ก็ไม่สาย




โพสต์ล่าสุด