แหวนคู่... ไม่ได้แปลว่าแหวนที่เหมือนกัน

14 มกราคม 2019 | เมื่อ 17:28 หลังเที่ยง

ผู้หญิงกับผู้ชายมีความแตกต่างกันทั้งทางสรีระ บุคลิกภาพ สไตล์การแต่งตัว และความชอบที่ต่างกันด้วย ถ้าให้ใส่แหวนคู่ที่เหมือนกันเป๊ะ ก็คงยากที่จะถูกใจกันทั้งคู่ แค่มือผู้ชายกับมือผู้หญิงก็มีลักษณะต่างกันแล้ว จริงไหมครับ?

การเลือกแหวนคู่ ถ้าเป็นแหวนที่เหมือนกันทุกประการ ทั้งขนาด และรูปลักษณ์ ก็คงหายากที่จะใส่ออกมาแล้วดูดีทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชาย บางคนก็ใส่ทั้งๆ ที่ไม่ชอบ แต่ก็เพราะเป็นแหวนคู่ที่คนรักซื้อให้ก็ต้องใส่แหละ... 

จะดีกว่าไหม ถ้าจะมีแหวนคู่ ที่ทั้งสองคนก็ต่างชอบแหวนวงของตัวเองทั้งคู่

แหวนคู่ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแหวนที่เหมือนกันจะมีแบบไหนได้บ้าง

 

couplering1
1. แหวนคู่ที่รูปแบบและสีเหมือนกัน แต่ขนาดต่างกัน เช่น แหวนที่มีขนาดหน้าตัดกว้างไม่เท่ากัน หน้าตัดแหวนมีตั้งแต่ขนาด 2 ม.ม., 2.5 ม.ม., 3 ม.ม., 4 ม.ม, 5 ม.ม., 6 ม.ม., 7 ม.ม. ไปจนถึง 8 ม.ม. (อาจจะมีเล็กและใหญ่กว่านี้ แต่ที่นิยมผลิตกันก็จะมีประมาณนี้) อาจจะเลือกแหวนขนาดกว้าง 2-2.5 ม.ม. สำหรับผู้หญิง คู่กับแหวนขนาดกว้าง 5-6 ม.ม. สำหรับผู้ชายก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดของมือและนิ้วมือ แบบนี้ใครเห็นก็รู้แน่ๆ ว่าเป็นแหวนคู่กัน

 

 

couplering2
2. แหวนคู่ที่รูปแบบและขนาดเหมือนกัน แต่สีหรือวัสดุต่างกัน เช่น อาจจะเลือกแหวนทองเกลี้ยงสำหรับผู้หญิง คู่กับแหวนเงินเกลี้ยงสำหรับผู้ชาย หรือ แหวน Pink gold สำหรับผู้หญิง คู่กับแหวนทอง(Yellow gold) สำหรับผู้ชาย ผู้ชายหลายคนก็ชอบสีดำ หรือวัสดุที่ไม่ดูแวววาววิบวับมากนัก

 

 

couplering3
3. แหวนคู่ที่รูปแบบและขนาดต่างกันเล็กน้อย แต่สีเหมือนกัน สิ่งที่ต่างกันอาจจะเป็นจำนวน รูปแบบ และขนาดของอัญมณีที่ประดับอยู่บนแหวน หรือความมันเงา-เนื้อด้านที่ต่างกัน แต่ดูโดยรวมแล้วก็ยังดูรู้ว่าเป็นแหวนคู่กัน เช่น แหวนผู้หญิงอาจจะมีอัญมณีประดับมากกว่าแหวนผู้ชาย(หรือแหวนผู้ชายไม่มีอัญมณีประดับเลย) หรือแหวนผู้หญิงมีส่วนที่มันเงาแวววาวมากกว่าแหวนผู้ชายที่มีเนื้อผิวด้านๆ มากกว่า เป็นต้น

 

 

couplering4
4. แหวนคู่ที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็เข้ากันได้ เหมือนสำนวนที่ว่า “เป็นปี่เป็นขลุ่ย” ที่แม้ว่าปี่กับขลุ่ยจะต่างกันแต่ก็เล่นเข้ากัน เป็นวงเดียวกัน และร่วมบรรเลงเป็นท่วงทำนองที่ไพเราะได้

 

 

couplering5
5. แหวนคู่ที่ต่างกันทุกอย่าง และไม่เข้ากันเลยซักนิด หลายคนคงบอกว่า แล้วมันจะเป็นแหวนคู่ได้ยังใง ลองดูสำนวนอันแสนคลาสสิคอย่าง “กิ่งทองใบหยก” ที่สะท้อนถึงความ "แตกต่างแต่ลงตัว" ดังนั้น “แหวนคู่” ก็ไม่มีความจำเป็นว่าจะต้องเป็นแหวนที่ “เหมือนกัน” เสมอไป


คู่รักไม่จำเป็นต้องชอบอะไรที่เหมือนกันทุกอย่างฉันใด แหวนคู่ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกประการฉันนั้น คุณล่ะ รักในความเหมือน... หรือความแตกต่างของกันและกัน

อยากรู้เทคนิคเลือกแหวน ซื้อแหวน ใส่แหวน มีให้อ่านอีกเพียบที่นี่

 

ดูกล่องใส่แหวนคู่ก่อนก็ได้

 

โพสต์ล่าสุด