“ทองคำ” คือหนึ่งในสินทรัพย์ที่น่าลงทุนไม่ต่างจากสินทรัพย์ตัวอื่นๆ เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องประดับแล้ว ในแง่ของการลงทุนนั้น ทองคำ ถูกยกให้เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยและป้องกันความไม่แน่นอนของตลาดเงินและตลาดสินทรัพย์อื่นๆ ได้ดี ทำให้การลงทุนทองคำได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก และแน่นอนว่าการเป็นมือใหม่หัดลงทุนในทองคำ อาจจะต้องเริ่มต้นทำความรู้จักกับทองคำกันให้มากขึ้นก่อน
1. ทำความรู้จักกับ “ทองคำ”
ทองคำ คืออะไร = ทองคำ คือ ธาตุโลหะทรานซิซันสีเหลือง มีหมายเลขอะตอม 79 , สัญลักษณ์ AU , ทองคำแท้มีสีเหลืองวาว เนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดหรือตีเป็นแผ่นได้ ทองคำแท้จะมีความเงาวาวอยู่เสมอ สีไม่หม่น ไม่เป็นสนิม นำไฟฟ้าได้ดี
คุณสมบัติ ทองคำ = มีสีเหลืองแวววาวทองตามธรรมชาติ แต่ก็สามารถเปลี่ยนเฉดสีได้หากนำไปผสมกับโลหะที่มีค่าอื่นๆ และยังหายาก ต้องขุดหาแร่ทองคำหลายตันกว่าจะได้ทองคำมา 1 ออนซ์ ( 31.167 กรัม ) ( ทองแท่ง 1 บาท หนัก 15.14 กรัม )
หลอมใหม่ได้.
2. เลือกทองคำให้เหมาะกับการลงทุน
ทองคำแท่ง ความบริสุทธิ์ 96.5 % เป็นทองคำที่เหมาะสำหรับการลงทุนมากที่สุดเพราะ
- ทองคำแท่ง ซื้อถูก ขายแพง กว่าทองรูปพรรณ หมายความว่า ราคาขายออก ถูกกว่า และ ราคารับซื้อ แพงกว่า ราคาทองรูปพรรณ
- ทองคำแท่ง เวลาเอาทองคำแท่งไปขายมักจะไม่โดนหัก เพราะในทองคำแท่งมีเนื้อทองคำแท้ล้วนๆ ต่างจาก ทองรูปพรรณที่มีส่วนผสมของ “น้ำประสานทอง” ( ใช้เชื่อมข้อต่อทองให้ติดกัน ) เมื่อใส่ไปนานๆ มีโอกาสที่น้ำหนักทองจะไม่ครบ และเวลาเอาไปขายมักโดนหักค่าเสื่อมประมาณ 5 % ดังนั้น ทองคำแท่งเหมาะกับการลงทุนเก็งกำไรมากกว่าทองรูปพรรณ
3. น้ำหนักทองมีความสำคัญ
น้ำหนักทองแท่งเยอะกว่า ทอง 1 บาท คือน้ำหนักทองมาตรฐานที่นิยมซื้อขายในไทย โดยแม้น้ำหนักทองจะเท่ากัน แต่ความจริงน้ำหนักหน่วยเป็น “กรัม” ไม่เท่ากัน โดย ทองรูปพรรณ 1 บาท หนัก 15.16 กรัม ส่วน ทองคำแท่ง 1 บาท หนัก 15.244 กรัมเมื่อนำไปขายจึงได้ราคารับซื้อแพงกว่า
ทั้งนี้ น้ำหนักทองแท่งมีให้เลือกลงทุนตั้งแต่ 1 กรัม , 0.125 บาท , 0.25 บาท , 0.50 บาท , 1 บาท ( มาตรฐานน้ำหนักทองในการลงทุน ) ตลอดไปจนถึงน้ำหนักทองเยอะๆ 5 บาท , 10 บาท ซึ่งในตลาดทองคำโลกมักจะซื้อขายทองคำกันเป็น “กิโลกรัม” และส่วนใหญ่เป็นทอง 99.99 %
ค่ากำเหน็จทองคำแท่งถูกกว่า เนื่องจากขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้มีค่าแรงถูกกว่า ทองรูปพรรณ แต่ทองแท่งมี 2 แบบให้เลือกคือ
- ทองคำแท่งแบบไม่มีค่าบล็อค ( ค่าแรง ) คือทองคำแท่งที่มีน้ำหนักทองตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป
- ทองคำแท่งแบบมีค่าบล็อค ( ค่าแรง ) คือทองคำแท่งที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 5 บาท
4. ช่องทางการลงทุนในทองคำ
ลงทุนผ่านร้านทองโดยตรง เป็นการเดินทางไปซื้อทองคำแท่งที่ร้านทองเพื่อมาเก็บไว้ที่ตัวเอง หรือ เก็บเป็นรูปแบบใบสัญญา ข้อดีได้เลือกและสัมผัสทองคำจริง แต่ก็มัข้อเสียคือ ราคาทองเปลี่ยน เมื่อไปถึงร้านทองแล้วกลับไม่ได้ราคาตามที่ต้องการ เนื่องจากราคาทองมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ในแต่ละวันตามราคาทองโลก ทำให้การซื้อขายทองคำแท่งเพื่อเก็งกำไรอาจล้าช้า
ลงทุนผ่านระบบเทรดออนไลน์ เป็นการซื้อขายทองคำแท่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่สะดวก รวดเร็ว สามารถทำกำไรจาก ราคาทองที่เปลี่ยนแปลงได้ทันที สามารถส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตัวเองได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะตลาดทองคำโลกจะเปิดช่วงกลางคืนของประเทศไทย ทำให้มีสภาพคล่องและโอกาสทำกำไรได้มากกว่า
ลงทุนผ่านกองทุน เป็นการนำเงินไปลงทุนทองคำผ่านกองทุนรวมที่มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลบริหารเงินที่ได้ลงทุนไปให้เกิดกำไร เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาดูราคาทอง และไม่มีประสบการณ์ในการลงทุนทองคำ
ลงทุนผ่านการออมทอง ( Gold Saving ) เป็นการลงทุนระยะยาว ในรูปแบบการออม คือกำหนดเงินซื้อทองสะสมทุกเดือน ซึ่งการลงทุนทองคำแบบออมทองไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ สามารถทยอยซื้อด้วยเงินเริ่มต้นหลักพัน สะสมทองคำไปเรื่อยๆ ยิ่งทองราคาถูกยิ่งได้ปริมาณทองเยอะด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม เมื่อการเก็บเล็กผสมน้อยผ่านระยะเวลาหนึ่ง เราก็จะได้ทองคำแท่งเป็นสลึง เป็นบาทๆ ได้เหมือนกัน
5. ข้อดีของการลงทุนในทองคำ
ทองคำ ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ทำให้ทองคำเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงระบบเศรษฐกิจโดยรวมของโลกได้
ทองคำ ป้องกันผลกระทบสภาวะ”อัตราเงินเฟ้อ”ได้
ทองคำ ป้องกันความเสี่ยงของตลาดเงิน(หุ้น)ได้ เพราะราคาทองมักจะตรงข้ามกับสินทรัพย์อื่นๆ
ทองคำ เป็นทรัพย์สินที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ทองคำ สร้างผลกำไรระยะสั้นได้สูง
“ทองคำ” ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง การลงทุนในทองคำเป็นการสร้างหลักประกันทางการเงินที่ดี ไม่แพ้การลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ