ค่ารักษาพยาบาล(ฉุกเฉิน) ต้องมีสำรองเท่าไหร่ถึงจะพอดี

13 กรกฎาคม 2020 | เมื่อ 17:16 หลังเที่ยง

 

อุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน เวลาไหน ยิ่งเหตุการณ์แบบฉุกเฉินไม่ทันตั้งตัว อาจจะส่งผลต่อ ค่ารักษาพยาบาล ชนิดที่อาจทำให้หมดตัวได้ ซึ่งแน่นอนว่าประกันต่างๆ เช่นประกันชีวิต,ประกันอุบัติเหตุ,ประกันสังคมก็อาจไม่ครอบคลุม

ดังนั้นการเตรียมเงินสำรองสำหรับค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินจึงเป็นเรื่องสำคัญและต้องเตรียมให้พอดี ซึ่งความพอดีของจำนวนเงินอาจต้องดูที่ปัจจัยดังต่อไปนี้

 

ก่อนอื่นทำความเข้าใจก่อนว่า การรักษาพยาบาลจะมีอยู่ 2 แบบ คือ

  • ผู้ป่วยใน ( IPD : In Patient Department) คือต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างต่ำ 6 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่อเนื่อง หรือเป็นคนไข้ของโรงพยาบาลนั่นเอง   ซึ่งค่ารักษาพยาบาลจะมีในส่วนของ ค่าห้อง เพิ่มขึ้นมาด้วย
  • ผู้ป่วยนอก ( OPD : Out Patient Department ) คือไม่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นการรักษาพยาบาลแบบไป-กลับ เช่น การทำแผลเล็กๆน้อยๆ , การตรวจร่างกาย ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายของค่าห้อง

โดยทั้ง แบบนี้ค่อนข้างสำคัญต่อค่ารักษาพยาบาลและการทำประกันไม่น้อย เพราะบางประกันไม่ครอบคลุมการรักษาแบบใดแบบหนึ่ง ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งหากไม่ได้เตรียมเงินสำรองไว้ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการเงินขึ้นมาได้ ดังนั้นคงต้องมาดูว่าค่าใช้จ่ายหรือปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อค่ารักษาพยาบาล

 

  1. ค่ายา  “ยารักษาโรค” ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ของการรักษาพยาบาล ซึ่งกลุ่มยาแต่ละประเภทจะมีราคาถูกแพงขึ้นอยู่กับโรคหรืออาการของคนไข้ และราคาจะแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งหากไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงหรือโรคที่ต้องใช้ยารักษามากมาย ค่ายา ควรมีเงินสำรองอย่างน้อย 5-10 %
  2. ค่าทำแผล การทำแผล,ล้างแผล,เองก็มีความสำคัญ เพราะหากทำไม่ถูกวิธีก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อ อันตรายแก่ชีวิตและส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งค่าทำแผลอาจไม่สูงมากนักหากเป็นเล็กๆน้อยๆ หรือไม่รุนแรง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรมองข้ามและควรสำรองเงินไว้อย่างน้อย 5-10 %
  3. ค่าตรวจ การตรวจหาโรค,ตรวจอาการ,ตรวจร่างกายต่างๆ ค่าใช้จ่ายนี้จะสูงขึ้นหากมีตรวจอย่างละเอียด คสรสำรองเงินไว้อย่างน้อย 5-20 %
  4. ค่าหมอ หรือค่าบริการทางการแพทย์ ค่ารักษาขึ้นอยู่กับการบริการนั้นเช่น ตรวจหาโรค,รักษาโรคเฉพาะทาง, หมอประจำตัวซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะต้องจ่ายเพิ่มหากมีการรักษาเฉพาะทางโรคนั้นๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษกรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาลหรือรักษาตัวที่บ้านแบบมีพยาบาลดูแล
  5. ค่าห้อง,ค่าอาหาร สำหรับคนไข้ที่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะมีค่าห้องและค่าอาหารเพิ่มขึ้นมา ซึ่งหากไม่ได้ซื้อประกันที่ครอบคลุมค่าห้องพยาบาล ก็จำเป็นต้องจ่ายในส่วนนี้เอง

การเตรียมเงินสำรองค่ารักษาพยาบาล(ฉุกเฉิน) ควรมีอย่างน้อย ให้พอดีกับค่าใช่จ่ายที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินที่อาจไม่จำเป็นต้องเคลมประกันทุกครั้งไป สิ่งสำคัญคือควรวางแผนการเงินสำหรับรักษาพยาบาลให้ดีและรอบคอบ ควรหาแหล่งเก็บเงินสำรองนี้ให้มั่นคง

 

อ่านบทความเพิ่มเติม.           " เราควรมี "เงินฉุกเฉิน" กี่บาท ?

 

อ่านต่อ...

โพสต์ล่าสุด